CASE REVIEW: ทำไมช่วงอายุ 7-12 ปี ถึงต้องใช้เลนส์ชะลอสายตาสั้น

เลนส์ที่ได้รับการนิยมมากที่สุดในวงการแพทย์คือ HOYA MiYOSMART 

เคสนี้ลูกค้าเพศชายอายุ 7 ปี ตรวจวัดสายตามาจากโรงพยาบาล  

ค่าสายตา

ขวา  -4.00-1.50×180
ซ้าย  -4.00-0.75×180

หากอายุต่ำกว่า 13 ปี จะแนะนำให้ตรวจวัดสายตากับจักษุแพทย์ เนื่องจากในช่วงอายุดังกล่าวมีกำลังในการเพ่งค่อนข้างสูง หากได้รับการตรวจสายตากับจักษุแพทย์ในบางรายจะได้รับการหยอดยาขยายม่านตาเพื่อควบคุมกำลังในการเพ่ง จะทำให้ได้ค่าสายตาที่แม่นยำมากกว่า   

การเปลี่ยนแปลงของค่าสายตานั้นมีการเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงอายุ ตั้งแต่วัยทารกไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ จากการศึกษาพบว่าช่วงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงของค่าสายตามากที่สุดคือช่วงอายุ 3-9 ปี  และมีความสัมพันธ์กับพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการยืดยาวของกระบอกตา (axial length elongation)  ลักษณะการเกิดสายตาสั้นคือ แสงจะตกก่อนถึงจุดรับภาพชัด ทำให้มองไกลไม่ชัด แต่ยังคงมองใกล้ได้ดีอยู่  หากเกิดสายตาสั้นในเด็กโอกาสการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นนั้นเกิดได้เร็ว  เนื่องจากกระบอกตามีการเจริญเติบโตและยืดยาวไปตามช่วงอายุเรื่อยๆ

ปัจจุบันมีเลนส์ชะลอสายตาสั้นในเด็กที่มีผลการวิจัยช่วยชะลอสายตาสั้นได้จริงถึง 60%  ที่ได้รับการนิยมมากที่สุดในวงการแพทย์คือ HOYA MiYOSMART  ด้วยเทคโนโลยี D.I.M.S. บนเลนส์แว่นตาที่มีลักษณะเป็นรังผึ้งเป็นพื้นที่ที่ช่วยชะลอการยืดตัวของกระบอกตาไม่ให้ยาวผิดปกติ เพื่อควบคุมไม่ให้สายตาเพิ่มขึ้นเร็ว

ผลการทดลองทางคลินิกเป็นเวลา 2 ปี พบว่าการใช้เลนส์แว่นตา MiYOSMART  ในช่วงอายุ 6-12 ปีทุกวันขั้นต่ำวันละ 12 ชั่วโมง ทำให้สายตาสั้นช้าลงโดยเฉลี่ย 60% เมื่อเทียบกับการใส่เลนส์สายตาชั้นเดียวแบบมาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามการแก้ไขด้วยเลนส์แว่นตาชั้นเดียวที่ให้การมองเห็นที่ชัดเจน แต่ไม่ได้ช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นได้ นั่นเป็นเหตุผลที่เลนส์แว่นตา MiYOSMART ได้รับการพัฒนาเพื่อให้เหมาะสำหรับเด็กโดยเฉพาะ 


สอบถามเพิ่มเติมที่ Line : @oliviaoptic
หน้าแรก
สินค้าทั้งหมด
ติดต่อ|จองคิว
แผนที่